วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559


.........................สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารติดงาน.................................
บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
                การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา  ภาคบงกช (2531) ได้เสนอแนวทางในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น                                
- เชิญวิทยากรมาบรรยาย  อภิปราย สาธิต
- จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
- จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
- จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง

         ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้  แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ   ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง   รับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของผู้ปกครอง
                ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ดังนี้
Summers Della,1998  กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล
จินตนา  ปัณฑวงศ์ (2531)   ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก

ความสำคัญของผู้ปกครอง
                ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
                พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง  มีความสุข

บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10  ประการ
1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม