วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน
วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559

วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน อาจารย์ได้นัดนักศึกษามาพร้อมกันทั้ง 2 เซค แล้วก็ได้พูดคุยเรื่่องตารางเรียนเทอมหน้า แล้วก็ได้แจกของรางวัลเด็กดีให้กับเพื่อนคนที่ทำงานเรียบร้อยที่สุดแล้วก็เข้าเรียนเป็นประจำไม่เคยขาด และก็มีการแจกปากกาเมจิกให้กับนักศึกษาทุกคน












 เป็นอันปิดคลอสสำหรับวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

เจอกันเทอมหน้า สวัสดีค่ะ 

บันทึกการเรียน
วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2559

*กลุ่มพวกเราได้ออกไปทำโครงการ ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิการยน 2559 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยร่วมใจพัฒนา

























บันทึกการเรียน
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559

*กลุ่มของพวกเราได้ออกไปติดต่อสถานที่ในการทำโครงการ วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2559








*ได้ช่วยกันทำสื่อที่จะนำไปให้ความรู้ผู้ปกครอง ในวันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559 












บันทึกการเรียน
วันจันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเนื้อหาโครงการมาให้ดูแล้วอาจารย์ก็ได้บอกว่าควรจะไปปรับหรือแก้ไขในส่วนไหนบ้าง บอกวิธีและขั้นต้อนในการทำโครงการว่าควรมีขั้นตอนไหนบ้าง ควรมีรายละเอียดส่วนไหนบ้างในเล่มโครงการที่เราจะต้องทำ
บันทึกการเรียน
วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม 2559

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ให้ไปศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโครงการที่จะทำ วันนี้อาจารย์ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาสรุปปัญหาจากการออกไปศึกษาข้อมูลในเรื่องที่จะทำว่าพบปัญหาแบบไหนบ้าง และเราควรจะนำมาปรับยังไงเพื่อที่จะทำให้โครงการของเราที่จะทำเกิดผลสำเร็จ




สิ่งที่ได้คือ ปัญหาของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ได้ออกไปศึกษาว่าพบเจอปัญกาแบบไหนบ้าง แล้วมีวิธีการแก้ไขหรือการปรับใช้ได้อย่างไร ในการทำโครง




วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม 2559
หยุดชดเชยวันปิยมหาราช

บันทึกการเรียน
วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559
**อาจารย์ให้ไปศึกษานอกสถานที่ โดยให้ช่วยกันทำเรื่องเกี่ยวกับโครงการของกลุ่มตนเอง
บันทึกการเรียน
วัน จันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559

สัปดาห์นั้นอาจารย์สอนเกี่ยวกับการเขียนโครงการ เนื่องจากอาจารย์จะให้นักศึกษาออกไปจัดทำโครงการเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วให้ช่วยกันคิดชื่อโครงการแล้วเขียนมาคล่าวพร้อมกับออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน
1.โครงการเรื่องฟัน
2.โครงการเรื่องรักการอ่าน
3.โครงการเรื่องสื่อ
4.โครงการเกี่ยวกับเทคโนโลยี
5.โครงการเรื่องอาหาร











สิ่งที่ได้รับ
1.การเรื่องหัวข้อโครงการและความเหมาะสมที่จะนำไปจัดให้ความรู้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
2.การทำงานงานกันเป็นกลุ่ม
3.การวางแผน


วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559

สัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิจัยที่ตนได้หามา

วิจัยของกลุ่มพวกเรา

วิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย


การศึกษาระดับ 
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ปีที่ทำวิจัย 2556
ผู้วิจัย นางสาว ราตรี  อิงมั่น

บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน
ประเด็นที่ 2 การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน
ประเด็นที่ 3 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาการของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองโรงเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองโรงเรียน
3.เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร ในการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดบริการนักเรียน ด้านการให้ข่าวสารข้อมูล และ อาคารสถานที่สภาพแวดล้อม
2.ได้ข้อมูลผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองที่จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน
3. ได้ข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร ให้ดีขึ้น

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีเพื่อหาข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของ โรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร ให้ดียิ่งขึ้นและผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัย ดังนี้
1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการศึกษา  ในระดับปฐมวัย ของโรงเรียนพันธะวัฒนาใน 4ด้าน  ดังนี้ 
1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 
2) ด้านการจัดบริการนักเรียน 
3) ด้านการให้ข่าวสารข้อมูล 
4) ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
2.  ขอบเขตด้านตัวแปร
1)  ตัวแปรต้นได้แก่ สถานภาพของผู้ปกครองนักเรียน ประกอบด้วยเพศอายุวุฒิการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือน
2) ตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนพันธะวัฒนา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  ๔ ด้าน คือ
1) ด้านการจัดการเรียนการสอน
2) ด้านการจัดบริการนักเรียน
3) ด้านการให้ข่าวสารข้อมูล
4) ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 
3. ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ -๓โรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๒o คน

นิยามคำศัพท์
ด้านการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การดำเนินการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนซึ่งประกอบด้วย การจัดการประสบการณ์ และกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ด้านการจัดบริการนักเรียน หมายถึง กิจกรรมสนับสนุนที่โรงเรียนจัดให้แก่นักเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน ในด้านสุขภาพอนามัย ด้านการส่งเสริมความปลอดภัยโดยเฉพาะในส่วนของการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย การตรวจตรา เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ

สมมุติฐานการวิจัย 1.ผู้ปกครองที่มีเพศต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร  แตกต่างกัน
2.ผู้ปกครองที่มีอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
3.ผู้ปกครองที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
4.ผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน
5.ผู้ปกครองที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานครและการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของ

ผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนพันธะวัฒนา โดยผู้วิจัยได้ดาเนินการตามลำดับ    ขั้นตอน ดังนี้
1. รูปแบบการดำเนินการวิจัย    
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย 
4.การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย
 5.การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
6.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
7. รูปแบบการดำเนินการวิจัย

ประชาการและกลุ่มตัวอย่าง
 ประชากรที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ -๓โรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๒
o คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย







วิเคราะห์ข้อมูล
1.. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุวุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยทั้ง๔ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดบริการนักเรียน ด้านการให้ข่าวสารข้อมูล ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
3.. ผลการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมุติฐานปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
ประกอบด้วยเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน
4..ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติเชิงพรรณนา ( Descriptive  Statistics) เป็นค่าสถิติพื้นฐานเกี่ยวกับค่าความถี่ร้อย
ละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation)  วิเคราะห์
เกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย
2.สถิติเชิงอนุมาน ( Inferential Statistics) เพื่อหาค่า t-test, F-test(One–way ANOVA
Analysis of Variance) ใช้ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรอิสระที่มากกว่าสองกลุ่มได้แก่
ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นครูและผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่ได้เป็นครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕
 3. การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปการศึกษาทางสังคมศาสตร์ที่นิยมใช้
กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่องความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน
พันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อความหมายที่ตรงกัน ผู้วิจัยได้กำหนด
สัญลักษณ์และอักษรย่อในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
x แทน ค่าเฉลี่ย
S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
t แทน ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง ๒ กลุ่ม
F แทน ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า ๒ กลุ่ม
df แทน ชั้นความเป็นอิสระ (Degrees of Freedom)
SS แทน ค่าผลบวกของคะแนนยกกาลังสอง (Sum of Squares)
MS แทน ความแปรปรวน (Mean Squares)
Sig แทน ค่านัยสำคัญทางสถิติ (Significance)
* แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
 1. ด้านการจัดการเรียนการสอน  ครูควรจัดสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้
ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้ จัดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับพัฒนาการครบทุกด้าน ได้ลงมือปฏิบัติ
2. ด้านการบริการนักเรียน ผู้รับผิดชอบ ห้องสุขา ห้องอาหาร ควรเข้ามามีส่วนร่วมและดูแลปรับปรุงห้องสุขาให้สะอาด ดูแลห้องอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
เกี่ยวกับรถรับ-ส่งนักเรียนชั้นปฐมวัย ควรมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัย และมีมาตรฐาน
3. ด้านของข้อมูลข่าวสารควรมีการจัดทำวารสาร แผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆให้ผู้ปกครองทราบอย่างสม่ำเสมอ
4..ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ควรมีการจัดที่นั่งพักสำหรับผู้มาติดต่อกับทางโรงเรียนเพียงพอ  ควรมีการจัดพื้นที่การเรียนการสอนห้องปฏิบัติการ เหมาะสมกับการเรียนแต่ละวิชา

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ  ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการ ศึกษาในระดับประถมศึกษาโรงเรียนพันธะวัฒนา  กรุงเทพมหานคร
หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
2. ควรมีการศึกษา ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในสถานศึกษาเอกชน
3. ควรศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพเกี่ยวกับ ความพึงพอใจของ นักเรียน ที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน

ตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
แบ่งแบบสอบถาม ออกเป็น ๓ ตอน ดังนี้
 ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
 ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนพันธะวัฒนา ๔ ด้านได้แก่
ด้านการจัดการเรียนการสอน 
ด้านการจัดบริการนักเรียน
ด้านการให้ข่าวสารข้อมูล
ด้านอาคารสถานที่สภาพแวดล้อม
โดยแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมา ตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี ๕ ระดับ ตามหลักการของ เคริร์ท โดยกำหนดค่าของลำดับ คะแนน ดังนี้
                ๕  หมายถึง  ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน  มากที่สุด
                ๔  หมายถึง  ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนมาก
                ๓  หมายถึง  ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนปานกลาง
                ๒  หมายถึง  ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนน้อย
                ๑  หมายถึง  ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนน้อยที่สุด  
ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดเพื่อให้ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ในการจัดการศึกษาปฐมวัยในการ จัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา กรุงเทพมหานคร

แหล่งอ้างอิง ที่มา บรรณานุกรม
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjfmpPtqpjPAhVEjZQKHezaC-oQFggaMAA&url=http%3A%2F%2Fwww.mcu.ac.th%2Fuserfiles%2Ffile%2Fthesis%2FEducational-Administration%2F56-2-11-047.pdf&usg=AFQjCNEHf5NNUg7-sULZmHRw9zM0pludmg&sig2=eus9CwDRm3BjzQy-r29pnw


แบบประเมินที่อาจารย์แจกให้เพื่อประเมินให้คะเเนนเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ออกไปนำเสนอ




******************************************************

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559 


บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
           เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น





จดหมายข่าวและกิจกรรม
    เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
      เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย          

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
        ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
            ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
-  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ


การสนทนา
     การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน






ป้ายนิเทศ
     ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น






นิทรรศการ
เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง 




มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก








*************************************************

คำถามท้ายบท

1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
=ข่าวสารประจำวัน  เพราะจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆและเป็นการแนะเเนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กเพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจมากขึ้น

 2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
=1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน  เช่น ข่าวสารประจำสัปดาห์ จดหมายกิจกรรม ป้ายนิเทศ
  2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา เช่น ห้องสมุด ป้ายนิเทศ นิทรรศการ

 3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย        
=อธิบายให้ฟังถึงเหตุผลของการจัดกิจกรรมและบอกถึงประโยชน์ที่จะได้จากการทำกิจกรรมว่าการทำกิจกรรมนั้นมีความจำเป็นและมีความสำคัญในด้านไหนบ้าง
   
 4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
=มีความสำคัญคือ เป็นการช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัยและการเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน

 5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
=ควรเป็นรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปจัดให้กับลูกหลานได้องอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กได้ในทุกด้าน