วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของผู้ปกครอง
                ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ดังนี้
Summers Della,1998  กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล
จินตนา  ปัณฑวงศ์ (2531)   ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก

ความสำคัญของผู้ปกครอง
                ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
                พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง  มีความสุข

บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10  ประการ
1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น