วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับทั่งโลก
ต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการจัดการศึกษา การให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างไปในแต่ละประเทศ
โดยที่แต่ละประเทศได้ดำเนินยุทธศาสตร์การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่
ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย
เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
-
แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
-
คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-
หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
-
ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย
ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่
ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
-
ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น
สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว
โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
-
กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา
เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก
เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน
ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ
“รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข
และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่
สมาชิกในครอบครัว
เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต
มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
โดยมีกิจกรรมดังนี้
- การเตรียมชุมชน
แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่
ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก
การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
-
จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป
โครงการ
การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน
ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง
สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
-
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
-
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา
โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
1. ความพร้อมที่จะเรียน
พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม
อารมณ์ และด้านวิชาการ
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง
ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education)
“โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as
Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
- ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
-
สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
-
ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น
การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ
3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย
และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น
การบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย
จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการเฮมสตาร์ท
มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์
ดังนี้
-
สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
-
เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
-
ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น
ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก
โดยเฉพาะในด้านการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กเล็ก
ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ
โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น
ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก
โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก”
และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า
ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก
เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี
“หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง
โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย
ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ
4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว
และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ
บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก”
ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์
ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
-
หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว
2 เล่ม
-
หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
-
ของชำร่วยสำหรับเด็ก
เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
-
แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-
บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-
รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-
รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
=มีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็กเพื่อที่จะพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัยให้โตไปอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
=จัดกิจกรรมและจัดอบรม
โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้นๆ
โดยกิจกรรมที่จัดก็ส่งเสริมเกี่ยวกับการเลี่ยงดูและการจักประสบการณ์ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละขั้น
เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปทำต่อได้ด้วยตนเอง
3.
ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก
มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
=1.เรื่องการศึกษา เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองแต่ละคนมีการศึกษาที่แตกต่างกันมีระดับความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันจึงทำให้มีหลักการให้การศึกษากับลูกที่แตกต่างกันและบางครอบครัวอาจจะให้การศึกษาได้ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
2.เรื่องความสัมพันธ์ เนื่องจากที่เป็นยุคสมัยที่ค่าครองชีพสูงจึงทำให้ทุกคนต่างต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและความอยู่ดีกินดีของครอบครัวจึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกของตนทำให้ความสนิทระหว่างพ่อแม่และลูกนั้นมีน้อย
3.เรื่องค่าครองชีพ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีค่าครองชีพสูงเลยทำให้ต้องออกนอกบ้านทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองนั้นไม่มีเวลาให้กับลูกของตนเอง
4.สิ่งเเวดล้อม เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากอีกอย่างหนึ่งสำหรับเด็ก เพราะถ้าเด็กได้อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่ดีหรือมีการอบรมเลี้ยงดูที่ดีและถูกต้องก็จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพ
5.การส่งเสริมพัฒนาการ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี ถูกวิธี และเป็นไปตามพัฒนาการที่เด็กควรที่จะเรียนรู้ไม่ถูกกดดันหรือเร่งรัดมากจนเกินไปก็จะทำให้เด็กนั้นมีพัฒนาการที่ดีและมีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
=1.เรื่องการศึกษา เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองแต่ละคนมีการศึกษาที่แตกต่างกันมีระดับความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันจึงทำให้มีหลักการให้การศึกษากับลูกที่แตกต่างกันและบางครอบครัวอาจจะให้การศึกษาได้ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
2.เรื่องความสัมพันธ์ เนื่องจากที่เป็นยุคสมัยที่ค่าครองชีพสูงจึงทำให้ทุกคนต่างต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและความอยู่ดีกินดีของครอบครัวจึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกของตนทำให้ความสนิทระหว่างพ่อแม่และลูกนั้นมีน้อย
3.เรื่องค่าครองชีพ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีค่าครองชีพสูงเลยทำให้ต้องออกนอกบ้านทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองนั้นไม่มีเวลาให้กับลูกของตนเอง
4.สิ่งเเวดล้อม เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากอีกอย่างหนึ่งสำหรับเด็ก เพราะถ้าเด็กได้อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่ดีหรือมีการอบรมเลี้ยงดูที่ดีและถูกต้องก็จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพ
5.การส่งเสริมพัฒนาการ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี ถูกวิธี และเป็นไปตามพัฒนาการที่เด็กควรที่จะเรียนรู้ไม่ถูกกดดันหรือเร่งรัดมากจนเกินไปก็จะทำให้เด็กนั้นมีพัฒนาการที่ดีและมีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
=ส่งผล เพราะถ้าผู้ปกครองได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ให้เด็กที่ถูกต้องถูกวิธีและเป็นไปตามวัยก็จะทำให้พัฒนาการของเด็กนั้นมีความพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและเด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดีเหมาะกับวัย
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบาย
=ใช้วิธีการสอบถามและการสังเกต
คือ
ติดตามสอบการการจัดกิจกรรมที่ผู้ปกครองจัดให้เด็กและการสังเกตการพฤติกรรมของเด็กที่ผู้ปกครองจัดกิจกรรมให้ว่ามีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น